การตรวจการนอนหลับคืออะไร

โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) เป็นโรคที่เกิดจากการยวบตัวของทางเดินหายใจส่วนต้นจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น (upper airway muscle dilator) ขณะหลับ  ทำให้มีการลดลง (hypopnea) หรือขาดหายไป (apnea) ของลมหายใจเป็นพักๆ

โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) เป็นโรคที่เกิดจากการยวบตัวของทางเดินหายใจส่วนต้น จากการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น (upper airway muscle dilator) ขณะหลับ  ทำให้มีการลดลง (hypopnea) หรือขาดหายไป (apnea) ของลมหายใจเป็นพักๆ  เมื่อไม่สามารถหายใจเอาอากาศเข้าร่างกายได้ตามปกติจึงเกิดการพร่องออกซิเจนในเลือด (hypoxia)  การคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnea) และการเพิ่มแรงที่ใช้ในการหายใจ (increased intrathoracic pressure) ในขณะหลับขึ้นอย่างมาก  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  ร่างกายจะตอบสนองด้วยการเกิดการตื่นเร้า (arousal) ขึ้นของสมอง เพื่อให้upper airway muscle dilator กลับมาทำหน้าที่เปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น และกลับมาหายใจใหม่ได้ตามปกติอีกครั้ง  แต่เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะหลับอีกครั้ง  ก็จะเกิด apnea/hypopnea  เป็นๆหายๆ ดังเดิม ดังจะเห็นว่า  การเกิด arousal  นี้นับเป็นกลไกป้องกันตนเองที่ทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจ  แต่ก็ส่งผลเสียทำให้การหลับไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง  ไม่สามารถหลับลงลึกได้  ทำให้แม้ผู้ป่วยจะนอนหลับเป็นระยะเวลาที่พอเพียง  ก็ยังมีความรู้สึกง่วงนอนและอ่อนเพลียในตอนกลางวัน  ส่งผลให้ความจำลดลง  สมาธิสั้น  มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย  หรือมีความรู้สึกท้อแท้ซึมเศร้าได้  นอกจากนี้ ภาวะ  hypoxemia, hypercapnea  และ recurrent arousal จะกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด sympathetic ให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด  เช่น  ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง  ภาวะหัวใจวาย  หัวใจเต้นผิดจังหวะ อัมพาต เป็นต้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการ  กรนเสียงดังเป็นประจำ (habitual loud snoring) มีผู้สังเกตว่าหยุดหายใจขณะหลับ (witnessed apnea) ร่วมกับรู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness)  อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย  ได้แก่  สะดุ้งตื่นคล้ายสำลักน้ำ  หลับไม่สนิท กระสับกระส่ายขณะหลับ  เหงื่อออกมากผิดปกติ  ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน  ปวดศีรษะตอนตื่นนอน เพลีย  ไม่สดชื่น ประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานลดลง ฯลฯ

เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค คือ

  1. ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว หรือ apnea-hypopnea index (AHI) คือ ความถี่ของ apnea และ hypopnea ที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับจริง (sleep time) ≥ 5 ครั้งต่อชั่วโมง
  2. ดัชนีการหายใจผิดปกติ หรือ respiratory-disturbance index (RDI) คือ ความถี่ของ apnea, hypopnea และ RERAs ที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับจริง (sleep time) ≥ 5  ครั้งต่อชั่วโมงเช่นกัน

ระดับความรุนแรงของโรค

  1. ระดับเล็กน้อย (
  2. ระดับปานกลาง (
  3. ระดับรุนแรง (

ดังจะเห็นว่า การคำนวณค่า AHI และ RDI  นั้น  ใช้จำนวนชั่วโมงที่หลับจริงเป็นตัวหาร ดังนั้นด้วยข้อจำกัดของ  type 3 และ 4 sleep study  ที่ไม่ได้มีตรวจวัดคลื่นสมอง  จึงจำเป็นต้องใช้เวลาทั้งหมดของการตรวจ  มาเป็นตัวหารแทน  ทำให้ค่าดัชนีที่ได้มักจะต่ำกว่าความเป็นจริงเสมอ  และอาจทำให้การประเมินความรุนแรงคลาดเคลื่อนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นได้

บทสรุป

checksleep2
โรคนอนกรนหยุดหายใจเป็นโรคอันตรายที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากมาย
  จึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วย sleep study ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดย type 1 sleep study  นับเป็นการตรวจมาตรฐานที่ดีที่สุด  แต่ในข้อจำกัดในด้านการเข้าถึงการตรวจ  อาจทำให้ type 3 sleep study ที่ทำการตรวจแบบ attended  ได้รับการยอมรับมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม การพิจารณาส่งตรวจ type 3 sleep study ควรรู้ถึงข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการส่งตรวจ

 

 

 

 

คัดลอกมาจากบทความวิชาการ อ.พญ.พิมล  รัตนาอัมพวัลย์

Suggest Readings

  1. Epstein LJ, Kristo D, Strollo PJ Jr, Friedman N, Malhotra A, Patil SP, et al. Adult Obstructive Sleep Apnea Task Force of the American Academy of Sleep Medicine. Clinical Guideline for the Evaluation, Management and Long-term Care of Obstructive Sleep Apnea in Adults. J Clin Sleep Med. 2009 Jun 15;5(3):263-76.
  2. Collop NA, Anderson WM, Boehlecke B, Claman D, Goldberg R, Gottlieb DJ, et al. Portable Monitoring Task Force of the American Academy of Sleep Medicine. Clinical Guidelines for the Use of Unattended Portable Monitors in the Diagnosis of Obstructive Sleep Apnea in Adult Patients. J Clin Sleep Med. 2007 Dec 15;3(7):737-47.