วันที่ 17 มีนาคม เป็นวันนอนหลับโลก หรือ "World Sleep Day" ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนบนโลกตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับ "ปัญหาการนอน" ซึ่งกิจกรรมในวัน world sleep day ที่จัดขึ้นโดย "สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย" ปีนี้เขาได้กำหนดคำขวัญไว้เลยว่า "หลับสนิท ชีวิตมีสุข" ดังนั้นจึงขอหยิบยกหัวข้อเด่นๆในงาน ที่เป็นประโยชน์กับคุณผู้ชม มาบอกเล่ากัน กับแขกรับเชิญ ผศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

มีการแชร์กันว่า ท่านอนตะแคงขวานั้นจะส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้อาการแย่ลง จะจริงหรือไม่ ไปฟังคำตอบจาก รศ.นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม หัวหน้าศูนย์นิทราเวช โรงพยาบลาจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัมภาษณ์ อ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน เรื่อง "การแก้ปัญหาความผิดปกติจากการนอนหลับ"

สัมภาษณ์ อ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน เรื่อง "ความผิดปรกติทางการนอน ภัยเงียบที่มาแบบไม่รู้ตัว"

ความง่วงนอนขณะขับขี่ยานพาหนะนั้นดูเหมือนไม่ใช่เป็นปัญหาที่สำคํญ แต่แท้ที่จริงแล้วการเผลอหลับขณะขับขี่ยานพาหนะหรือการขับออกนอกเส้นจราจรนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งตัวผู้ขับขี่และผู้อื่นมากมายในแต่ละปี ในปัจจุบัน ภาวะง่วงนอนขณะขับขี่ยานพาหนะ มีความสำคัญเทียบเท่าการขับขี่ยานพาหนะขณะเมาสุรา เพราะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้รุนแรงเช่นเดียวกัน

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนที่พบได้บ่อย  และส่งผลต่อสุขภาพ การดำรงชีวิต  อาการที่พบ ได้บ่อยที่สุด คือ การนอนกรนเสียงดัง หายใจสะดุดขณะหลับ ตื่นเช้าไม่สดชื่น และง่วงนอนมากตอนกลางวัน  โรคนี้เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการทำงานและคุณภาพชีวิต  ผลการวิจัยพบว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง, เส้นเลือดสมองตีบตันและโรคหัวใจขาดเลือดได้

การอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับในผู้ป่วยเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า 100 ครั้งในแต่ละคืน  กระบวนการอุดกั้นนี้ประกอบด้วยกันหลายส่วน  โดยเริ่มจากกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย (ซึ่งมีหน้าที่ในการพยุงให้ทางเดินหายใจเปิดกว้าง) คลายตัวลงขณะหลับทำไห้ทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายขึ้น  เมื่อหายใจเข้าอากาศที่ผ่านช่องคอที่แคบทำให้เกิดเสียงกรนและถ้าการอุดกั้นมากเข้าก็จะเกิดการหยุดหายใจตามมาได้  การให้การรักษาที่เหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้

โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา  และหลับในช่วงเวลาต่างๆอย่างผิดปกติ ในบางครั้งอาจมีอาการคล้ายหลับ (คือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก เป็นต้น) ขณะที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนตลอดเวลาและไม่ว่าจะนอนเท่าใดก็ยังรู้สึกง่วง  หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงอย่างมาก อาจเกิดการหลับในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม และอันตรายได้ เช่น ขับรถ กำลังผ่าตัดผู้ป่วย

ในปัจจุบันแม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถให้การรักษาแก่ผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่เหมือนคนปกติได้

สาเหตุของโรค

ยังไม่ทราบแน่ชัด  โรคนี้มีความผิดปกกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น  โดยมีการหลับแทรกเข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่  อาการของโรคเช่น  ง่วงนอนตลอดเวลา  แขนขาอ่อนแรงขณะจะตื่น(ผีอำ)  เห็นภาพลวงตาช่วงที่จะหลับ

โรคนี้ไม่ใช่โรคทางจิตเวช  พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย  จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยบางรายมีสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า hypocretin ต่ำกว่าปกติ  นักวิจัยบางรายได้เสนอว่าโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยภายนอกบางอย่าง

การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญ หากลูกหลับได้ดี จะตื่นขึ้นมาพร้อมรอยยิ้ม และอารมณ์ดี มีความสุขและความกระฉับกระเฉง ร่าเริง หากลูกนอนหลับไม่ดี สามารถทำให้ชีวิตของทั้งครอบครัวตกลงไปอยู่ในฝันร้าย เด็กที่อดนอน จะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการและพฤติกรรม และทำให้พ่อแม่และสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว ประสบความเครียดที่ไม่จำเป็นไม่ว่าลูกจะนอนคนเดียว, นอนร่วมห้อง หรือร่วมเตียง กับพี่น้อง หรือพ่อแม่ การสร้างรูปแบบที่ส่งเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ การตระหนักถึงปัญหาในการนอนหลับของลูกถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการแก้ไข

สถานที่ตรวจการนอนหลับที่ได้มาตรฐานของ American Academy of Sleep Medicine (AASM)

-     มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบผลและจัดการดูแลการตรวจ (ผลตรวจการนอนหลับได้รับการวิเคราะห์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ)

-      มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วย

-      มีแนวทางการรักษาที่เชื่อถือได้

-      มีอุปกรณ์สำหรับตรวจอย่างครบครัน

-      มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจและดูแลผู้ป่วยขณะตรวจ

-      มีการเพิ่พูนองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ

-      สถานที่ตรวจสะดวกสบายเหมาะสำหรับการตรวจ

ลูกของคุณนอนกรนหรือไม่?

จากการศึกษาพบว่า 20%ของเด็กมีอาการนอนกรน7-10% มีอาการนอนกรนทุกคืนเด็กหลายรายที่นอนกรนนั้นมีสุขภาพดีแต่ประมาณ 2% พบว่ามีปัญหาในขณะหลับและมีปัญหาในการหายใจสำหรับผู้ปกครองควรเฝ้าระวังว่าลูกของคุณมีอาการนอนหลับและกรนอย่างไรถ้าสงสัยว่ามีปัญหา หรือบางอย่างที่ต่างจากปกติคุณควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับ

อาการนอนไม่หลับหรือหลับลำบาก หรือหลับไม่สนิท (เรียกว่าโรคนอนไม่หลับ) ถ้าคุณประสบปัญหาจากโรคนอนไม่หลับ คุณจะรู้ว่าการนอนไม่หลับจะมีผลกระทบกับคุณในช่วงกลางวัน และกลางคืน ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน และเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการทำงาน

การรักษาโรคนอนไม่หลับต้องอาศัยทั้งคุณและแพทย์ร่วมมือกันเพื่อหาสาเหตุและผลกระทบของปัญหานี้  ผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคนอนไม่หลับเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้อาจรวมถึงการที่คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับการนอนหลับ สุขอนามัยของการนอนหลับ ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคทางกาย หรือโรคทางจิตใจที่เป็นสาเหตุของโรคไม่นอนหลับ

ภาวะนี้เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะหลับ  โดยมีอาการแสดงออกในหลายรูปแบบของพฤติกรรม เช่น เดิน กรีดร้องคุย ซึ่งอาจจะทำให้การนอนไม่ต่อเนื่อง  โดยที่พฤติกรรมดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดเป็นประจำก็ได้ อาการละเมอ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ละเมอเดิน,  ตื่นขึ้นมาแล้วกรีดร้องตกใจ โดยเมื่อตื่นขึ้นมาอาจมีอาการผิดปกติ เช่น  ตื่นแล้วรู้สึกสับสนมึนงง 

ภาวะนี้พบมากในเด็กและผู้มีประวัติในครอบครัวที่มีอาการ  และอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สบาย นอนหลังจากที่อดหลับอดนอนเป็นเวลานาน หรือใช้ยาบางอย่าง

              Confusional arousal  เป็นอาการที่พบมาที่สุด  โดยมีอาการร้องไห้สะดุ้งตื่น  มึนงง  สับสน  ไม่ค่อยรู้สึกตัว  อาจมีอาการนานได้ถึงครึ่งชั่วโมง  แล้วผู้ป่วยจะสะดุ้งตื่นขึ้นสักครู่ก่อนที่จะหลับ

              Sleep walking  ละเมอเดินและอาจทำกิจกรรมอื่นด้วยเช่นพูดคุย เดินออกไปนอกบ้าน  ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้  ส่วนมากไม่จำเป็นต้องรักษาอาการดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น  แต่สามารถพบผู้ใหญ่เป็นโรคนี้ได้

              Sleep  related  eating  เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยผู้ป่วยละเมอรับประทานอาหาร  อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากได้  พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่  ชายและหญิง  พบในหญิงมากกว่า

              Sleep  terror  ผู้ป่วยจะกรีดร้องขึ้นมาขณะหลับ  อาจหอบเหนื่อย  ใจสั่น  เหงื่อแตก  กระสับกระส่าย  และอาจรุกออกจากเตียงซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายได้  โดยผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ไม่ได้หลังจากตื่น

              Nightmare ฝันร้าย

              Sleep talking ละเมอพูด

              Hypnagogic  hallucination  &  Sleep paralysis

                         -  Hypnagogic hallucination  การเห็นภาพหลอนขณะกำลังจะหลับ

                         -  Sleep  paralysis  ขณะกำลังจะตื่นรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถขยับตัวได้  แต่หายใจและกรอกตาได้ (คล้ายผีอำ)

              REM sleep behavior disorder (RBD) ขณะหลับระยะ REM เป็นระยะที่มีความฝัน  ปกติแล้วร่างกายจะอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้  ทำได้เพียงหายใจและกรอกตา  แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการขยับตัวได้ขณะอยู่ในระยะ REM อาจขยับตามความฝันแล้วได้รับอันตรายหรือทำร้ายผู้อื่นได้ละเมอโดยที่พฤติกรรมขณะละเมอจะคล้ายกับในฝัน (acting out dream) ซึ่งมักพบในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน

กลุ่มอาการ  Parasomnia อื่นๆ

                       -  Nocturnal seizure  การชักกระตุกระหว่างหลับ

                       -  นอนกัดฟัน  อากทำให้ฟันสึก  ปวดกรามได้  การใส่อุปกณ์ทันตกรรมขณะหลับสามารถลดอาการได้

การตรวจประเมินอาการ

                ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา  แต่หากมีอาการรุนแรงเช่น  พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย  รบกวนผู้อื่นมาก  ง่วงนอนตอนกลางวันมาก  ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

                ในผู้ป่วย RBD อาจประเมินการรักษาถ้าพฤติกรรมในขณะละเมอมีอันตราย

การรักษา

                การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็น  ควรจัดห้องนอนให้ปลอดภัย  ไม่มีสิ่งของมาก  ปิดหน้าต่างในห้องนอน  หากอาการรุนแรงมากอาจต้องใช้ยาในการรักษา เช่น การใช้ clonazepam ใน RBD

บทความโดยคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

(ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)

คุณกรนเสียงดังหรือไม่?

                การกรนเสียงดังอาจเป็นสัญญาณอันตรายบางอย่างที่บ่งบอกว่าการหายใจของคุณนั้นผิดปกติ เสียงกรนแสดงถึงการหายใจผ่านช่องคอที่แคบ ดังนั้นเสียงกรนจึงเกิดจากการพยายามให้แรงดันอากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทำให้การหายใจปกติของท่านเปลี่ยนไป  แต่เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง(Continuous Positive Airway pressure:CPAP)ทำให้การหายใจของท่านกลับคืนสู่ภาวะปกติ

 12 ข้อแนะนำที่ช่วยให้ท่านปรับตัวในการใช้เครื่องCPAP ได้ง่ายขึ้น

  1. ใช้โหมด “Ramp” หรือ การตั้งค่าความหน่วงของเครื่อง CPAP เพื่อให้ความดันของเครื่องมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนถึงระดับที่ต้องการ
  2. ท่านควรพยายามใช้เครื่อง CPAP ขณะนอนหลับในทุกๆ คืนและทุกๆ ครั้งที่งีบหลับ การใช้เครื่อง CPAP ที่ไม่ต่อเนื่องนอกจากจะทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลให้การปรับตัวเพื่อให้เคยชินกับเครื่องยิ่งทำได้ยากมากขึ้น
  3. ท่านสามารถทำการปรับหน้ากาก ท่อลม สายรัดทั้งบริเวณใบหน้าหรือศีรษะ เพื่อให้หน้ากากที่ท่านสวมใส่มีความพอดี

โรคนอนไม่หลับ โดย อ พญ บุษราคัม ธีระไพรพฤกษ์

สัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคลมหลับและภาวะง่วงนอนตอนกลางวัน ผศ นพ ทายาท ดีสุดจิต อ พญ มณฑิดา วีรวิกรม

ภาวะนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ในผู้ใหญ่และเด็ก โดย ผศ นพ ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม

สัมภาษณ์ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น อ พญ นฤชา จิรกาลวสาน

  •  รู้สึกง่วงแล้วจึงไปนอน ไม่ควรนอนบนเตียงทั้งที่ไม่ง่วง
  •  หากนอนไม่หลับภายใน 20 นาทีควรลุกออกจากเตียงทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย  แล้วกลับมานอนเมื่อรู้สึกง่วง
  •  ใช้เตียงเพื่อการนอนหลับหรือเพศสัมพันธ์เท่านั้น
  •  ควรตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน  ทั้งวันทำงานและวันหยุด
  •  หากนอนไม่หลับตอนกลางคืนไม่ควรนอนตอนกลางวัน  หากง่วงนอนมากไม่ควรนอนเกิน1ชั่วโมงและไม่ควรนอนหลัง15.00
  •  ผ่อนคลายก่อนนอน
  •  ออกกำลังกายเป็ประจำ  แต่ไม่ควรทำก่อนนอน
  •  นอนหลับให้เป็นเวลา
  •  รับประทานอาหารว่างเล็กน้อยก่อนนอน  แต่ไม่ควรรับประทานอาหารหนัก
  •  งดชา กาแฟ บุหรี่ ในช่วงบ่าย
  •  หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
  •  ไม่ควรดูนาฬิการะหว่างเข้านอน
  •  ไม่ควรอาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
  •  ปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

บทความโดยคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

(ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)

คุณต้องการตื่น เมื่อนาฬิกาปลุกจะตื่นขึ้นมาในตอนเช้าหรือไม่? คุณพบว่ามันยากที่จะลุกออกจากเตียง หรือตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกหงุดหงิดหรือเครียดหรือเปล่า? คุณมักจะเหนื่อยในระหว่างวันหรือไม่? หากคุณมีปัญหานอนยาก หรือมีความรู้สึกเหนื่อยและง่วงนอนมากในตอนกลางวัน คุณอาจจะมีความผิดปกติของการนอนหลับ

ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่จะต้องผ่าตัดโดยการดมยาสลบอาจเกิดปัญหาต่างๆได้  ตั้งแต่เริ่มดมยาสลบ ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด เมื่อเริ่มผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับยาทำให้หลับทางเดินหายใจอาจเกิดการอุดกั้นได้  การใส่ท่อช่วยหายใจทำได้ยากกว่าปกติอาจเกิดอันตรายได้  คืนก่อนผ่าตัดผู้ป่วยอาจนอนไม่หลับส่งผลให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นรุนแรงขึ้นได้

คุณเคยมีอาการเหล่านี้ไหม

  - ถ้าไม่ขยับขาจะรู้สึกว่ามีตัวแมลง, หนอนไต่ที่ขา
  - ขารู้สึกว่าต้องการวิ่ง และฉันต้องทำตาม
  - เมื่อไปนอนมีความรู้สึกว่ามีตัวอะไรมาจับขาแกว่งไปมา
  - มักจะเป็นในเวลาเข้านอนกลางคืน

 

คุณกรนหรือไม่?

 

เสียงกรนบ่งบอกถึงทางเดินหายใจส่วนบนได้แก่บริเวณลำคอนั้นแคบกว่าปกติ เสียงกรนจึงเกิดจากการพยายามออกแรงหายใจเข้าผ่านทางเดินหายใจที่แคบนั่นเอง พบว่าประมาณ 10-30% ของผู้ใหญ่มีการกรน โดยการกรนส่วนใหญ่อาจไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมา

 

อย่างไรก็ตาม เสียงกรนที่ดังถือว่าเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจที่อาจเป็นอันตรายเกิดขึ้นระหว่างที่นอนหลับ ได้แก่ โรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

 

การนอนกรนพบได้บ่อยอย่างที่เราทราบกันดี นอกจากการกรนนั้นจะรบกวนคนข้างเคียงแล้วการกรนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) เป็นโรคที่เกิดจากการยวบตัวของทางเดินหายใจส่วนต้นจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น (upper airway muscle dilator) ขณะหลับ  ทำให้มีการลดลง (hypopnea) หรือขาดหายไป (apnea) ของลมหายใจเป็นพักๆ